Skip to main content

Case Study 87

นักเรียนเพศหญิงอายุ 14 ปี มาด้วยความต้องการตรวจเช็คสายตาเพื่ออัพเดทค่าสายตาใหม่บนแว่น

เมื่อเช็คประวัติแล้วพบว่าเป็นลูกค้าเก่าที่ตรวจเช็คสายตากับที่ร้านเป็นประจำ โดยมีประวัติการตรวจสายตา ดังนี้

11/05/2024 ลูกค้าอายุ 14 ปี(เคยใส่แว่นเก่าที่ไม่คมแล้ว ตัดมา 4-5 ปี)

ค่าสายตาแว่นเก่า

R: -2.00

L: -2.00

เมื่อตรวจค่าสายตาอย่างละเอียดโดยนักทัศนมาตร

R: -2.50 -1.25

L: -3.00 -1.25

พบว่ามีค่าสายตาสั้นและเอียงที่สูงขึ้น จึงต้องมีการปรับเพื่อให้ใส่ได้ง่ายในการใส่ค่าสายตาเอียงครั้งแรก ตามค่าสายตาดังนี้

R: -2.50 -0.50

L: -3.00 -0.50

หลังจากครั้งแรกที่ตรวจนั้น แนะนำให้ลูกค้าปรับตัวกับค่าสายตาใหม่ให้ชิน และมาอัพเดทค่าสายตาให้ใกล้เคียงตาจริงเรื่อยๆ ภายใน 6 เดือน

31/07/2024 ลูกค้าอายุ 14 ปี

3 เดือนถัดมา ลูกค้าเข้ามารีเช็คสายตาหลังจากที่สามารถปรับตัวเข้ากับค่าสายตาเดิมได้แล้ว

ค่าสายตาล่าสุดที่ตรวจได้

R: -2.75 -1.25

L: -3.25 -1.75

พบว่ามีสายตาสั้นและเอียงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเช่นเดิม ทางร้านได้อัพเดทค่าสายตาให้สูงขึ้นใกล้เคียงตาจริงมากที่สุดเท่าที่ลูกค้าใส่ไหว ดังนี้

R: -2.75 -1.25

L: -3.25 -1.25

การจ่ายค่าสายตารูปแบบดังกล่าว คือการเริ่มจ่ายค่าสายตาจากต่ำๆ ในการใส่แว่นครั้งแรกๆ และค่อยๆ เพิ่มค่าสายตาขึ้นหลังจากปรับตัวกับค่าเดิมได้แล้ว เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่ค่าสายตาสูงและไม่เคยใส่แว่นมาก่อน โดยเฉพาะในเด็กควรได้รับการแก้ไขค่าสายตาตั้งแต่อายุยังน้อย

เพียงแต่ในครั้งแรกที่ใส่ค่าสายตานั้น อาจทำให้เกิดความไม่สบายตาฉับพลัน ดังนั้นการค่อยๆ เพิ่มค่าสายตาจะทำให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวและคุ้นชินกับภาพใหม่ที่เห็น ซึ่งต่างจากการใส่ค่าสายตาเต็มทันทีในครั้งแรกที่อาจทำให้ปรับตัวไม่ได้ เกิดอาการเวียนหัว และลงเอยที่ลูกค้าปฏิเสธการใส่แว่นตามมา

การเช็คค่าสายตาทุกๆ 6 เดือนถึง 1 ปี คือระยะเวลาเหมาะสมสำหรับการตรวจเช็ค เนื่องจากค่าสายตาอาจจะเปลี่ยนภายในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ทั้งนั้นระยะเวลาที่ค่าสายตาจะเปลี่ยนขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้งานสายตา

The Lens คำนึงถึงการแก้ไขค่าสายตาในเด็กเสมอ เนื่องจากการมองเห็นที่คมชัด สามารถส่งผลต่อพัฒนาการตามวัย สามารถปรึกษาปัญหาสายตากับนักทัศนมาตรฟรี

 

#เพราะร้านแว่นไม่ใช่ที่ไหนก็ได้

#TheLensเน้นคุณภาพเสมอ