Skip to main content

Case Study 23

ลูกค้าเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้น ม.ต้น อายุ 13 ปี เข้ามาที่ร้านเพื่อทำแว่นสายตาใหม่ เนื่องจากแว่นเดิมที่ใช้อยู่ มองชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง และมีอาการปวดตาเป็นบางครั้ง จากการซักประวัติการใช้แว่นเพิ่มเติม ลูกค้าต้องการแว่นที่สามารถกรองแสงสีฟ้าได้เยอะๆ เนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือหลายชั่วโมง

แว่นสายตาเดิมของลูกค้า

R : - 2.25

L : - 2.25

ทางร้านทำการวัดสายตาใหม่

R : - 0.25

L : - 0.25

ผลการตรรวจอย่างละเอียดพบว่า

ลูกค้ามีค่าสายตาสั้นเพียง 1 step เท่านั้น!!

ทางร้านได้คอนเฟิร์มการมองเห็นของลูกค้าด้วยการวัดความสามารถในการมองเห็นเบื้องต้น (VA) ใช้เครื่อง Auto refractor และใช้เทคนิคคลายกำลังการเพ่งซึ่งเป็นเทคนิคที่นักทัศนมาตรของร้านใช้กัน แล้วจึงตรวจวัดสายตาอย่างละเอียดบนเครื่อง Phoroptor และลองแว่นด้วย Trial Lens ทำให้ได้ค่าสายตาที่ถูกต้อง ไม่ใส่ค่าสายตามากเกินกว่าค่าสายตาจริง โดยคอนเฟิร์มด้วย Retinoscope ปิดท้ายเพื่อให้มั่นใจว่าค่าสายตาที่ลูกค้าใส่มาก่อนหน้า (จากร้านอื่น) มีค่ามากกว่าค่าสายตาของลูกค้าจริงๆ ไปถึง 8 steps ซึ่งถือเป็นค่าที่เยอะเกินความต้องการของตามากๆ ซึ่งสาเหตุของการวัดสายตาแล้วได้ค่าสายตาเกินกว่าความเป็นจริง เกิดจากการที่ลูกค้าเป็นคนที่มีการใช้งานหน้าจอคอมจอมือถือเยอะมาก ในกรณีของลูกค้าคือ มากกว่า 10-12 ชม.ต่อวัน ส่วนอาการมองเห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้างเกิดจากการที่ลูกค้าใส่ค่าสายตามากเกินไปจนกล้ามเนื้อตาทำงานหนัก ช่วงไหนที่กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ไม่มีกำลังดึงกล้ามเนื้อตามากพอ ลูกค้าก็จะเห็นภาพไม่ชัด

ทางร้านแก้ปัญหาให้ลูกค้าด้วยการปรับค่าสายตาให้ลูกค้าตามค่าสายตาจริงของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้ใส่แว่นตาที่เหมาะสมกับค่าสายตาของลูกค้า ระบบการมองเห็น และระบบกล้ามเนื้อตาของลูกค้า จึงไม่ต้องทำงานหนักจากค่าสายตาที่เยอะเกินความจำเป็น

#เพราะร้านแว่นไม่ใช่ที่ไหนก็ได้

#TheLensเน้นคุณภาพเสมอ